เมนู

มาโดยกาลพิเศษ.
ด้วยอาการอย่างนี้ ท่านพระอานนท์นี้ ย่อมมีความสำเร็จทางปัญญา
ด้วยความไม่หลง และย่อมมีความสำเร็จทางสติ ด้วยความไม่ลืม.
ในความสำเร็จ 2 ประการนั้น สติอันมีปัญญานำ สามารถห้าม
(ความอื่น) โดยพยัญชนะ ปัญญาอันมีสตินำ สามารถแทงตลอดโดย
อรรถ. โดยที่มีความสามารถทั้ง 2 ประการนั้น ย่อมสำเร็จภาวะที่ท่าน
พระอานนท์จะได้นามว่า ขุนคลังแห่งพระธรรม เพราะสามารถจะ
อนุรักษ์คลังพระธรรม ซึ่งสมบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ.

อีกนัยหนึ่ง


ด้วยคำว่า เอวํ ท่านพระอานนท์แสดงโยนิโสมนสิการ เพราะผู้ที่
ไม่มีโยน โสมนสิการ ไม่แทงตลอดโดยประการต่าง ๆ
ด้วยคำว่า สุตํ ท่านพระอานนท์แสดงความไม่ฟุ้งซ่าน เพราะผู้ที่
มีจิตฟุ้งซ่านฟังไม่ได้.
จริงอย่างนั้น บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน แม้เขาจะพูดด้วยความสมบูรณ์
ทุกอย่าง ก็ยังพูดว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ยิน ขอจงพูดซ้ำ.
ก็ในคุณ 2 ข้อนี้ ท่านพระอานนท์ทำอัตตสัมมาปณิธิและปุพเพ-
กตปุญญตาให้สำเร็จได้ ด้วยโยนิโสมนสิการ เพราะผู้มิได้ตั้งตนไว้ชอบ
หรือมิได้กระทำความดีไว้ก่อน จะไม่มีโยนิโสมนสิการ ท่านพระอานนท์
ทำการฟังพระสัทธรรมและการพึ่งสัตบุรุษให้สำเร็จได้ ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน
เพราะผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่สามารถจะฟังได้ และผู้ไม่พึ่งสัตบุรุษ ก็ไม่มีการ
สดับฟัง.

อีกนัยหนึ่ง เพราะข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า บทว่า เอวํ แสดงไข
อาการต่าง ๆ ของจิตสันดาน ซึ่งเป็นตัวรับอรรถะและพยัญชนะต่าง ๆ ด้วย
เป็นไปโดยอาการต่างกัน และอาการอันเจริญอย่างนี้นั้น ย่อมไม่มีแก่
บุคคลผู้มีได้ตั้งตนไว้ชอบ หรือมิได้กระทำความดีไว้ก่อน ฉะนั้น ด้วยคำ
ว่า เอวํ นี้ ท่านพระอานนท์แสดงสมบัติคือจักร 2 ข้อ เบื้องปลายของตน
ด้วยอาการอันเจริญนี้. ด้วยคำว่า สุตํ ท่านพระอานนท์แสดงสมบัติคือ
จักรธรรม 2 ข้อเบื้องต้นของตน ด้วยการประกอบการฟัง. เพราะผู้ที่
อยู่ในถิ่นฐานอันมิใช่เป็นปฏิรูปเทศก็ดี ผู้ที่เว้นการพึ่งสัตบุรุษก็ดี ย่อม
ไม่มีการฟัง ด้วยประการฉะนี้ . ความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัย ย่อมเป็นอัน
สำเร็จแก่ท่าน เพราะความสำเร็จแห่งจักรธรรม 2 ข้อเบื้องปลาย ความ
บริสุทธิ์แห่งความเพียร ย่อมเป็นอันสำเร็จ เพราะความสำเร็จแห่งจักร 2
ข้อเบื้องต้น และด้วยความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัยนั้น ย่อมเป็นอันสำเร็จ
ความฉลาดในปฏิเวธ ด้วยความบริสุทธิ์แห่งความเพียร ย่อมเป็นอันสำเร็จ
ความฉลาดในปริยัติ. ด้วยประการฉะนี้ ถ้อยคำของท่านพระอานนท์ผู้มี
ความเพียรและอัธยาศัย บริสุทธิ์ สมบูรณ์ ด้วยปริยัติและปฏิเวธ ย่อมควร
ที่จะเป็นคำเริ่มแรกแห่งพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือน
ความขึ้นไปแห่งอรุณ เป็นเบื้องต้นของดวงอาทิตย์ที่กำลังอุทัยอยู่
และเหมือนโยนิโสมนสิการ เป็นเบื้องต้นแห่งกุศลกรรมฉะนั้น เหตุดังนั้น
ท่านพระอานนท์ เมื่อจะดังคำเป็นนิทานในฐานะอันควร จึงกล่าวคำ
เป็นต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้.
อีกนัยหนึ่ง ด้วยคำแสดงการแทงตลอดมีประการต่าง ๆ ว่า เอวํ นี้
ท่านพระอานนท์แสดงถึงสภาพแห่งสมบัติ คือ อัตถปฏิสัมภิทา และ

ปฏิภาณปฏิสัมภิทาของตน. ด้วยคำแสดงถึงการแทงตลอดประเภทแห่ง
ธรรมที่ควรสดับว่า สุตํ นี้ ท่านพระอานนท์แสดงถึงสภาพแห่งสมบัติ
คือ ธัมมปฏิสัมภิทา และนิรุตติปฏิสัมภิทา.
อนึ่ง ท่านพระอานนท์ เมื่อกล่าวคำอันแสดงโยนิโสมนสิการว่า
เอวํ นี้ ย่อมแสดงว่า ธรรมเหล่านี้ ข้าพเจ้าเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้ว
ด้วยทิฏฐิ. เมื่อกล่าวคำอันแสดงการประกอบด้วยการสดับว่า สุตํ นี้ ย่อม
แสดงว่า ธรรมเป็นอันมาก ข้าพเจ้าได้สดับแล้ว ทรงจำไว้แล้ว คล่อง
ปาก. เมื่อแสดงความบริบูรณ์แห่งอรรถและพยัญชนะ แม้ด้วยคำทั้งสอง
นั้น ย่อมให้เกิดความเอื้อเฟื้อในการฟัง เพราะว่าผู้ไม่สดับธรรม ที่
บริบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ โดยเอื้อเฟื้อ ย่อมเหินห่างจากประโยชน์
เกื้อกูลอันใหญ่ เพราะเหตุดังนี้นั้น กุลบุตรควรจะให้เกิดความเอื้อเฟื้อฟัง
ธรรมนี้โดยเคารพแล.
อนึ่ง ด้วยคำทั้งหมดว่า เอวมฺเม สุตํ นี้ ท่านพระอานนท์มิได้
ตั้งธรรมที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว เพื่อตน ย่อมล่วงพ้นภูมิอสัตบุรุษ
เมื่อปฏิญาณความเป็นสาวก ย่อมก้าวลงสู่ภูมิสัตบุรุษ
อนึ่ง ย่อมยังจิตให้ออกพ้นจากอสัทธรรม ย่อมยังจิตให้ดำรงอยู่ใน
พระสัทธรรม เมื่อแสดงว่า ก็พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้นเท่านั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาโดยสิ้นเชิงทีเดียว ชื่อว่าย่อมเปลื้องตน
ย่อมแสดงอ้างพระบรมศาสดา ทำพระดำรัสของพระชินเจ้าให้แนบแน่น
ประดิษฐานแบบแผนพระธรรมไว้.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ เมื่อไม่ปฏิญาณว่าธรรมอันตนให้
เกิดขึ้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ เปิดเผยการสดับให้เบื้องต้น ย่อม

ยังความไม่ศรัทธาให้พินาศ ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศรัทธาในธรรมนี้
ให้เกิดขึ้นแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งปวงว่า พระดำรัสนี้ข้าพเจ้าได้รับมา
เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แกล้วกล้าด้วยเวสารัชญาณทั้งสี่ ผู้
ทรงกำลังสิบ ผู้ดำรงอยู่ในฐานะอันองอาจ ผู้บันลือสีหนาท ผู้สูงสุดกว่า
สัตว์ทั้งปวง ผู้เป็นใหญ่ในธรรม ผู้เป็นธรรมราชา ผู้เป็นธรรมาธิบดี
ผู้มีธรรมเป็นประทีป ผู้มีธรรมเป็นสรณะ ผู้ยังจักรอันประเสริฐ คือพระ
สัทธรรมให้หมุนไป ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ในพระดำรัส
นี้ ใคร ๆ ไม่ควรทำความสงสัยหรือเคลือบแคลงในอรรถหรือธรรม
ในบทหรือพยัญชนะ เพราะฉะนั้น พระอานนท์ย่อมยังความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธาให้พินาศ ยังสัทธาสัมปทาให้เกิดขึ้นในธรรมนี้ แก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้ ด้วยเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวคาถา
ประพันธ์ไว้ดังนี้ว่า
พระอานนทเถระผู้เป็นสาวกของพระโคดมกล่าว
อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ ย่อมยังความ
ไม่ศรัทธาให้พินาศ ย่อมยังศรัทธาในพระศาสนา
ให้เจริญ ดังนี้.


แก้อรรถบท เอกํ สมยํ


บทว่า เอกํ แสดงการกำหนดนับ.
บทว่า สมยํ แสดงสมัยที่กำหนด.
สองบทว่า เอกํ สมยํ แสดงสมัยที่ไม่แน่นอน.
สมย ศัพท์ ในบทว่า สมยํ นั้น